กีฬาเทเบิลเทนนิส
กีฬาปิงปอง เป็นกีฬาสันทนาการอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานในหมู่คณะ ขณะเดียวกันก็เป็นกีฬาที่มีความท้าทายที่ผู้เล่นต้องต้องอาศัยไหวพริบ และความคล่องแคล่วของร่างกายในการรับ-ส่งลูก ซึ่งความท้าทายนี้จึงทำให้กีฬาปิงปองได้รับความนิยมในระดับสากล กระทั่งถูกบรรจุในการแข่งขันระดับโลก ด้วยความน่าสนใจของกีฬาปิงปองนี้ ดังนั้นทางกระปุกดอทคอมจึงได้นำข้อมูลของกีฬาปิงปองมาฝากค่ะ
ประวัติกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส กีฬาปิงปองได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้เล่นปิงปองเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้ปิงปองในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจากพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกับพื้นโต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง "ปิก-ป๊อก" ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินว่า "ปิงปอง" (PINGPONG) และได้เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP หรือเรียกว่า การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบนยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับแบบยุโรป" และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับไม้แบบจีน" ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) เริ่มปรากฏว่า มีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND) และ หลังมือ (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า "PINGPONG" ด้วยเหตุนี้ กีฬาปิงปองจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม พร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ขึ้น เป็นครั้งแรก จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มีการปรับวิธีการเล่นโดยเน้นไปที่ การตบลูกแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย ทำให้จึงกีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา และมีการพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก
กีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้ ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งบนฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่เพียง 4.5 ฟุต X 5 ฟุต และลูกปิงปองยังมีน้ำหนักเบามาก เพียง 2.7 กรัม โดยความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ทำให้นักกีฬาต้องตีลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนมากลับไปทันที ซึ่งหากลังเลแล้วตีพลาด หรือไม่ตีเลย ก็อาจทำให้ผู้เล่นเสียคะแนนได้
ทั้งนี้ ปิงปองมีประโยชน์ต่อผู้เล่น เนื่องจากต้องอาศัยความคล่องแคล่ว ว่องไวในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้
1. สายตา : สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้ และมองลูกว่าจะหมุนมาในลักษณะใด
2. สมอง : ปิงปองเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นแบบฉับพลันอีกด้วย
3. มือ : มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่ว และว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้
4. ข้อมือ : ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะหมุนมากยิ่งขึ้น
5. แขน : ต้องมีพละกำลัง และมีความอดทนในการฝึกซ้อมแบบสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน
6. ลำตัว : การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย
7. ต้นขา : ผู้เล่นต้องมีต้นขาที่แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
8. หัวเข่า : ผู้เล่นต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่
9. เท้า : หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ตามตีลูกปิงปองไม่ทัน
1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร
2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่
3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่
4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน
5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ
6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ
6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน
6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 - 4 คน
ประโยชน์ของการเล่นเทเบิลเทนนิส
1.ประโยชน์ต่อร่างกาย
กีฬาทุกชนิดผู้เล่นย่อมได้ประโยชน์ทางร่างกายจากการออกกำลังกาย เทเบิลเทนนิสก็เช่นเดียวกันกับกีฬาชนิดอื่นๆ ที่ทำให้ผู้เล่นได้ออกกำลังกายจากการเล่น แต่การออกกำลังกายในการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าการเล่นกีฬาชนิดอื่น คือ ในขณะเล่นเทเบิลเทนนิสนั้น ผู้เล่นมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการเล่น และเป็นการออกกำลังกายแบบเบาๆ แต่ทำจำนวนครั้งมากๆ ผู้เล่นเทเบิลเทนนิสจึงได้ออกกำลังในลักษณะค่อยๆ ไป ไม่เกิดช่วงเหนื่อยจนหายใจไม่ทันหรือเป็นลม หน้ามืดเหมือนอย่างในการเล่นกีฬาบางชนิด เช่น ยกน้ำหนัก ฟุตบอล เป็นต้น ซึ่งในขณะที่เล่นกีฬาเหล่านี้บางเวลาก็ต้องออกกำลังมาก บางเวลาก็ออกกำลังน้อย ไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
การออกกำลังกายโดยเล่นเทเบิลเทนนิสจะทำให้ แขน ขา ลำตัว และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ต้องเคลื่อนไหวอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาที่เล่น ทำให้ร่างกายได้รับการออกกำลังกายทุกส่วนอย่างเพียงพอ อันเป็นผลให้มีสุขภาพแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ได้จากการออกกำลังกายโดยการเล่นเทเบิลเทนนิสก็คือ ฝึกให้สายตาและร่างกายมีความคล่องแคล่วว่องไว เพราะในการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้นจำเป็นที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องเคลื่อนไหวอย่างว่องไวโดยประสานกับสายตาที่ว่องไวด้วย การที่มีสายตาและร่างกายที่คล่องแคล่วว่องไวนี้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น การหลบหลีกอันตราย ความคล่องแคล่วในการทำงาน เป็นต้น
สำหรับอันตรายที่จะได้รับจากการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้น นับว่ามีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยเพราะเป็นกีฬาที่ไม่มีการใช้ร่างกายปะทะกันระหว่างคู่ต่อสู้ และแม้ว่าจะเป็นการเล่นประเภทคู่ก็ตามถ้าหากคู่เล่นมีการฝึกซ้อมกันอย่างดีแล้ว โอกาสที่จะชนกันในคู่ซึ่งเป็นฝ่ายเดียวกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
2.ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์
การจะเล่นเทเบิลเทนนิสให้ดีนั้น ส่วนหนึ่งต้องอาศัยความมีสติดี มีความเชื่อมั่นในตัวเองและมีสมาธิดี และในการฝึกซ้อมนั้ก็ต้องอาศัยความอดทนและความตั้งใจ ดังนั้น สำหรับผู้เล่นหรือผู้ฝึกซ้อมกีฬาชนิดนี้บ่อยๆ จึงเป็นการฝึกซ้อมให้ตนเองมีสติ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีสมาธิดีและเป็นคนมีความอดทนและตั้งใจ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวเราทั้งสิ้น ในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ผู้เล่นกีฬาชนิดนี้ยังต้องฝึกตัวเองให้อดทนต่องสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นหรือจากการที่ถูกยั่วโทสะ กล่าวคือ ในบางครั้งผู้เล่นเกิดการตีลูกพลาดไปโดยไม่น่าพลาดก็ดี หรือ จากการถูกยั่วโทสะของคู่ต่อสู้หรือผู้ดูก็ดี หากผู้เล่นแสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีไม่งาม เช่น เอาไม้เทเบิลเทนนิสขว้างทิ้ง เอาไม้ทุบโต๊ะ กระทืบลูกปิงปอง เป็นต้น เขาก็จะได้รับการตำหนิจากเพือนฝูง ซึ่งก็เท่ากับเป็นการดัดนิสัยให้ผู้นั้นรู้จักระงับอารมณ์โทสะ ซึ่งในครั้งต่อๆไป เมื่อผู้เล่นนั้นได้มีอารมณ์เช่นนี้อีก เขาก็จะได้อดทน ไม่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีออกมา เมื่อฝึกเช่นนี้บ่อยเข้า ก็จะกลายเป็นความเคยชินในการอดกลั้นความมีโทสะ แม้ในเหตุการณ์อื่นๆ ในชีวิตประจำวันเขาก็สามารถอดกลั้นโทสะได้เป็นอย่างดีและง่ายดาย
3.ประโยชน์ในด้านสังคม
การเล่นเทเบิลเทนนิสนี้ แม้ว่าจะมีผู้เล่นเพียง 2 คน ก็เป็นการเพียงพอแล้วก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้วในขณะที่คู่ใดคู่หนึ่งกำลังเล่นเทเบิลเทนนิสอยู่ จะมีคนอื่นๆ อีกหลายคนรอที่จะเข้าเล่นต่อ เช่น การเล่นในกรณีที่ให้ผู้ที่ตีแพ้ออก แล้วให้คนใหม่ที่เป็นคนต่อไปเข้าไปตีแทน เป็นต้น หรือผู้เล่นที่มีความตั้งใจเล่นอย่างจริงจัง ก็ควรสมัครสมานเข้าเป็นสมาชิกของชมรมหรือสมาคมต่างๆ ทำให้ผู้เล่นมีโอกาสรู้จักกับคนมาก และเกิดความสมัครสมานสามัคคีกันขึ้นในหมู่ผู้เล่น นอกจากนี้ ในการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้นผู้เล่นแต่ละคนยังต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎ และกติกาที่วางไว้ และต้องเคารพสิทธิของผู้มาก่อนหรือมาหลัง ในการเข้าเล่นจึงเท่ากับเป็นการฝึกตนเองให้เป็นคนมีระเบียบวินัยเคารพสิทธิของผู้อื่น ก่อให้เกิดความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ซึ่งในชีวิตประจำวัน ถ้าทุกคนเป็นคนมีระเบียบวินัย เคารพสิทธิของผู้อื่น และเคารพกฎหมายบ้านเมือง สังคมก็จะมีระเบียบเรียบร้อย และประการสุดท้ายการเล่นเทเบิลเทนนิส นับว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ปล่อยให้เวลาว่างไปโดยไม่ได้ทำอะไร หรือนำเวลาว่างไปใช้ในทางอบายมุขหรือสิ่งยั่วยวนใจต่างๆ เช่น เที่ยวกลางคืน เมาสุรา เล่นการพนัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ตัวเอง
กีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้ ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งบนฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่เพียง 4.5 ฟุต X 5 ฟุต และลูกปิงปองยังมีน้ำหนักเบามาก เพียง 2.7 กรัม โดยความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ทำให้นักกีฬาต้องตีลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนมากลับไปทันที ซึ่งหากลังเลแล้วตีพลาด หรือไม่ตีเลย ก็อาจทำให้ผู้เล่นเสียคะแนนได้
ทั้งนี้ ปิงปองมีประโยชน์ต่อผู้เล่น เนื่องจากต้องอาศัยความคล่องแคล่ว ว่องไวในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้
1. สายตา : สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้ และมองลูกว่าจะหมุนมาในลักษณะใด
2. สมอง : ปิงปองเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นแบบฉับพลันอีกด้วย
3. มือ : มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่ว และว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้
4. ข้อมือ : ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะหมุนมากยิ่งขึ้น
5. แขน : ต้องมีพละกำลัง และมีความอดทนในการฝึกซ้อมแบบสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน
6. ลำตัว : การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย
7. ต้นขา : ผู้เล่นต้องมีต้นขาที่แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
8. หัวเข่า : ผู้เล่นต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่
9. เท้า : หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ตามตีลูกปิงปองไม่ทัน
1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร
2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่
3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่
4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน
5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ
6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ
6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน
6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 - 4 คน
ประโยชน์ของการเล่นเทเบิลเทนนิส
1.ประโยชน์ต่อร่างกาย
กีฬาทุกชนิดผู้เล่นย่อมได้ประโยชน์ทางร่างกายจากการออกกำลังกาย เทเบิลเทนนิสก็เช่นเดียวกันกับกีฬาชนิดอื่นๆ ที่ทำให้ผู้เล่นได้ออกกำลังกายจากการเล่น แต่การออกกำลังกายในการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าการเล่นกีฬาชนิดอื่น คือ ในขณะเล่นเทเบิลเทนนิสนั้น ผู้เล่นมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการเล่น และเป็นการออกกำลังกายแบบเบาๆ แต่ทำจำนวนครั้งมากๆ ผู้เล่นเทเบิลเทนนิสจึงได้ออกกำลังในลักษณะค่อยๆ ไป ไม่เกิดช่วงเหนื่อยจนหายใจไม่ทันหรือเป็นลม หน้ามืดเหมือนอย่างในการเล่นกีฬาบางชนิด เช่น ยกน้ำหนัก ฟุตบอล เป็นต้น ซึ่งในขณะที่เล่นกีฬาเหล่านี้บางเวลาก็ต้องออกกำลังมาก บางเวลาก็ออกกำลังน้อย ไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
การออกกำลังกายโดยเล่นเทเบิลเทนนิสจะทำให้ แขน ขา ลำตัว และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ต้องเคลื่อนไหวอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาที่เล่น ทำให้ร่างกายได้รับการออกกำลังกายทุกส่วนอย่างเพียงพอ อันเป็นผลให้มีสุขภาพแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ได้จากการออกกำลังกายโดยการเล่นเทเบิลเทนนิสก็คือ ฝึกให้สายตาและร่างกายมีความคล่องแคล่วว่องไว เพราะในการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้นจำเป็นที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องเคลื่อนไหวอย่างว่องไวโดยประสานกับสายตาที่ว่องไวด้วย การที่มีสายตาและร่างกายที่คล่องแคล่วว่องไวนี้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น การหลบหลีกอันตราย ความคล่องแคล่วในการทำงาน เป็นต้น
สำหรับอันตรายที่จะได้รับจากการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้น นับว่ามีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยเพราะเป็นกีฬาที่ไม่มีการใช้ร่างกายปะทะกันระหว่างคู่ต่อสู้ และแม้ว่าจะเป็นการเล่นประเภทคู่ก็ตามถ้าหากคู่เล่นมีการฝึกซ้อมกันอย่างดีแล้ว โอกาสที่จะชนกันในคู่ซึ่งเป็นฝ่ายเดียวกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
2.ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์
การจะเล่นเทเบิลเทนนิสให้ดีนั้น ส่วนหนึ่งต้องอาศัยความมีสติดี มีความเชื่อมั่นในตัวเองและมีสมาธิดี และในการฝึกซ้อมนั้ก็ต้องอาศัยความอดทนและความตั้งใจ ดังนั้น สำหรับผู้เล่นหรือผู้ฝึกซ้อมกีฬาชนิดนี้บ่อยๆ จึงเป็นการฝึกซ้อมให้ตนเองมีสติ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีสมาธิดีและเป็นคนมีความอดทนและตั้งใจ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวเราทั้งสิ้น ในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ผู้เล่นกีฬาชนิดนี้ยังต้องฝึกตัวเองให้อดทนต่องสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นหรือจากการที่ถูกยั่วโทสะ กล่าวคือ ในบางครั้งผู้เล่นเกิดการตีลูกพลาดไปโดยไม่น่าพลาดก็ดี หรือ จากการถูกยั่วโทสะของคู่ต่อสู้หรือผู้ดูก็ดี หากผู้เล่นแสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีไม่งาม เช่น เอาไม้เทเบิลเทนนิสขว้างทิ้ง เอาไม้ทุบโต๊ะ กระทืบลูกปิงปอง เป็นต้น เขาก็จะได้รับการตำหนิจากเพือนฝูง ซึ่งก็เท่ากับเป็นการดัดนิสัยให้ผู้นั้นรู้จักระงับอารมณ์โทสะ ซึ่งในครั้งต่อๆไป เมื่อผู้เล่นนั้นได้มีอารมณ์เช่นนี้อีก เขาก็จะได้อดทน ไม่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีออกมา เมื่อฝึกเช่นนี้บ่อยเข้า ก็จะกลายเป็นความเคยชินในการอดกลั้นความมีโทสะ แม้ในเหตุการณ์อื่นๆ ในชีวิตประจำวันเขาก็สามารถอดกลั้นโทสะได้เป็นอย่างดีและง่ายดาย
3.ประโยชน์ในด้านสังคม
การเล่นเทเบิลเทนนิสนี้ แม้ว่าจะมีผู้เล่นเพียง 2 คน ก็เป็นการเพียงพอแล้วก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้วในขณะที่คู่ใดคู่หนึ่งกำลังเล่นเทเบิลเทนนิสอยู่ จะมีคนอื่นๆ อีกหลายคนรอที่จะเข้าเล่นต่อ เช่น การเล่นในกรณีที่ให้ผู้ที่ตีแพ้ออก แล้วให้คนใหม่ที่เป็นคนต่อไปเข้าไปตีแทน เป็นต้น หรือผู้เล่นที่มีความตั้งใจเล่นอย่างจริงจัง ก็ควรสมัครสมานเข้าเป็นสมาชิกของชมรมหรือสมาคมต่างๆ ทำให้ผู้เล่นมีโอกาสรู้จักกับคนมาก และเกิดความสมัครสมานสามัคคีกันขึ้นในหมู่ผู้เล่น นอกจากนี้ ในการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้นผู้เล่นแต่ละคนยังต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎ และกติกาที่วางไว้ และต้องเคารพสิทธิของผู้มาก่อนหรือมาหลัง ในการเข้าเล่นจึงเท่ากับเป็นการฝึกตนเองให้เป็นคนมีระเบียบวินัยเคารพสิทธิของผู้อื่น ก่อให้เกิดความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ซึ่งในชีวิตประจำวัน ถ้าทุกคนเป็นคนมีระเบียบวินัย เคารพสิทธิของผู้อื่น และเคารพกฎหมายบ้านเมือง สังคมก็จะมีระเบียบเรียบร้อย และประการสุดท้ายการเล่นเทเบิลเทนนิส นับว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ปล่อยให้เวลาว่างไปโดยไม่ได้ทำอะไร หรือนำเวลาว่างไปใช้ในทางอบายมุขหรือสิ่งยั่วยวนใจต่างๆ เช่น เที่ยวกลางคืน เมาสุรา เล่นการพนัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ตัวเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น